นโยบายป้องกันและขจัดมลพิษภายใต้นโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๐-๒๕๕๙ (มลพิษทางน้ำ)
สถานการณ์
เป้าหมาย
นโยบายและแนวทางดำเนินการ
นโยบายป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำ ประกอบด้วยนโยบาย 4 ประการ
![]() |
|
แนวทางดำเนินการ
1. แนวทางด้านการจัดการ
![]() |
ให้มีการควบคุมมลพิษทางน้ำของชุมชนใน 25 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ โดยจัดลำดับความสำคัญ พร้อมทั้งกำหนดมาตรการต่างๆ และจัดทำปฏิบัติการเพื่อให้มีผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม |
![]() |
จัดทำแผนปฏิบัติการฉุกเฉินและแผนป้องกันอุบัติภัย เพื่อป้องกันและแก้ไขอันตรายอันเกิดจากการแพร่กระจายของมลพิษและสภาวะแวดล้อมเป็นพิษที่มีผลกระทบต่อคุณภาพน้ำและแหล่งน้ำ |
![]() |
ควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินมิให้ล่วงล้ำลำน้ำในบริเวณสองข้างฝั่งแม่น้ำ ลำคลอง บึง ทะเลสาบ อ่างเก็บน้ำ เกาะ และชายฝั่งทะเลอย่างเข้มงวด |
![]() |
กระจายอำนาจหน้าที่รับผิดชอบและเสริมสร้างสมรรถนะแก่เจ้าหน้าที่ระดับจังหวัดและท้องถิ่น เพื่อให้การควบคุมน้ำเสียจากแหล่งกำเหนิด รวมทั้งการควบคุมมลพิษทางน้ำในระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ |
![]() |
ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำ และการจัดการมลพิษทางน้ำจากแหล่งกำเนิดมลพิษอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ โดยให้มีการร่วมมือและประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
![]() |
เสริมสร้างกลไก และสมรรถนะขององค์กร เพื่อเอื้ออำนวยต่อการควบคุมน้ำเสียและของเสียจากแหล่งกำเนิดอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการใช้มาตรการทางเศรษฐกิจและสังคมควบคู่กับมาตรการทางกฎหมาย |
![]() |
กำเนิดให้แหล่งน้ำดิบเพื่อการประปาและพื้นที่ ที่มีปัญหามลพิษทางน้ำรุนแรงเป็นเขตควบคุมมลพิษ พร้อมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อควบคุมและฟื้นฟูคุณภาพน้ำให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ |
![]() |
สนับสนุนการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมสำหรับอุตสาหกรรมประเภทที่มีมลพิษทางน้ำ รวมทั้งกำหนดมาตรการควบคุมและขจัดการแพร่กระจายของมลพิษทางน้ำอย่างรัดกุม |
![]() |
จัดเตรียมที่ดินที่เหมาะสมสำหรับใช้ในการบำบัดน้ำเสียในระยะยาวรวมทั้งกำหนดพื้ที่สงวนไว้ เพื่อการบำบัดน้ำเสียจากชุมชนรวมไว้ในผังเมือง |
2. แนวทางด้านการลงทุน
![]() |
ให้มีระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียรวมสำหรับชุมชนในระดับเทศบาล และสุขาภิบาลทั่วประเทศ โดยสนับสนุนให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วม |
![]() |
ส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนของส่วนราชการท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจและเอกชน ในการก่อสร้างระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียรวม โดยการจัดสรรงบประมาณ สมทบกองทุนสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้นตามความต้องการ |
![]() |
เร่งรัดให้มีการนำมมาตรการการจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสียไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยมอบหมายให้ส่วนราชการท้องถิ่น หรือองค์กรที่มีหน้าที่โดยตรงเป็นผู้ดำเนินการ |
![]() |
แนวทางด้านกฎหมาย กำหนดและปรับปรุงมาตรการคูณภาพน้ำในแหล่งสำคัญ และมาตรฐานน้ำทิ้งจากกแหล่งกำเนิดต่างๆ ให้เหมาะสม และทันต่อสถานการณ์ กำหนดและปรับปรุงประเภทและขนาดของแหล่งกำเนิดน้ำเสียหรือกิจกรรมที่ต้องควบคุมการปล่อยน้ำเสีย รวมทั้งการกำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขต่างๆ เพื่อควบคุมและติดตามตรวจสอบ การระบายน้ำเสียอย่างต่อเนื่อง เสริมสร้างสมรรถภาพทางวิชาการอุปกรณ์ เครื่องมือ และกฎหมาย เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ในระดับท้องถิ่น ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เอื้ออำนวยต่อการแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำ ตลอกจนเร่งรัดออกกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ เพื่อให้การลดและควบคุมมลพิษทางน้ำเป็นไปตามเป้าหมาย |
![]() |
แนวทางด้านการสนับสนุน สนับสนุนและร่วมมือกับภาคเอกชนและองค์กรต่างๆ ในการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและผู้ประกอบกิจการ มีความรู้ มีความเข้าใจ และมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการจัดการคุณภาพน้ำ และการควบคุมน้ำเสียจากแหล่งกำเนิด สนับสนุนให้มีการศึกษา วิจัย เพื่อพัฒนาและส่งเสริมเทคโนโลยีการจัดการคุณภาพน้ำ และการควบคุมน้ำเสียจากแหล่งกำเนิดให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งสนับสนุนให้ดำเนินผลการวิจัยไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ให้มีการลดภาษีอากรสำหรับการนำเข้าเครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ วัสดุ เพื่อการบำบัดน้ำเสียให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดแรงจูงใจและความรวบมือในการจัดการน้ำเสีย |