(มลพิษจากมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล) นโยบายป้องกันและขจัดมลพิษภายใต้นโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๐-๒๕๕๙
สถานการณ์
เป้าหมาย
นโยบายและแนวทางดำเนินการ
นโยบายป้องกันและขจัดมลพิษจากมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ประกอบด้วยนโยบาย 4 ประการ
![]() |
|
แนวทางดำเนินการ
1. แนวทางด้านการจัดการ
1 | ใช้หลักการ”ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย” ทั้งกับประชาชนและหน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้ผลิตมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล หรือดำเนินการจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลให้เหมาะสมก่อให้เกิดความเสียหายต่อสุขภาพประชาชนและสิ่งแวดล้อม |
2 | ให้มีการจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลระดับจังหวัด ให้สอดคล้องกับแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบครบวงจร ตั้งแต่การเก็บผล การขนส่ง และการกำจัด |
3 | สนับสนุนให้เอกชนดำเนินธุระกิจการบริการด้านการเก็บผล ขนส่งและกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ทั้งในรูปของการว่าจ้าง การร่วมลงทุน หรือการให้สัมปทานรับจ้างควบคุมระบบกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล |
4 | กำหนดองค์กรและหน้าที่ในการควบคุมกำกับ ดูแล การจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ให้มีประสิทธิภาพ |
5 | ใหัจังหวัดจัดเตรียมที่ดินที่เหมาะสมสำหรับใช้กำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลระยะยาว รวมทั้งการกำหนดพื้นที่ที่สงวนไว้เพื่อการกำจัดมูลฝอยในผังเมืองด้วย |
6 | ให้นำระบบที่ผู้ผลิตต้องรับซื้อซากหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วจากผู้บริโภคเพื่อนำไปกำจัดหรือหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ รวมทั้งกำหนดประเภทผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ที่ผู้ผลิตต้องนำกลับคืนเพื่อลดปริมาณมูลฝอย |
7 | ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินสภาพปัญหาและการจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลของชุมชน และกำเนิดต่างๆ อย่างต่อเนื่อง และพัฒนาระบบข้อมูลการจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและทันสมัยตลอดเวลา รวมทั้งให้มีศูนย์ประสานข้อมูลการนำมูลฝอยมาใช้ประโยชน์ |
2. แนวทางด้านการลงทุน
1 | ให้มีการลงทุนก่อสร้างสถานที่กำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ถูกสุขลักษณะและจัดหาเครื่องจักรกลที่เหมาะสม โดยรัฐร่วมทุนกับภาคเอกชนหรือรัฐสนับสนุนงบประมารทั้งหมด หรือสมทบบางส่วนให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการ |
2 | ส่งเสริมการลงทุนและให้สิ่งจูงใจแก่ภาคเอกชนที่ดำเนินธุรกิจหรืองค์กรสาธารรประโยชน์ที่ทำงานเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล รวมทั้งการนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม |
3 | จัดตั้งศูนย์กำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลส่วนกลางที่สามารถใช้ร่วมกันได้ระหว่างชุมชนหลายแห่งที่อยู่ใกล้เคียงกัน |
4 | ปรับปรุงและฟื้นฟูสถานที่กำจัดมูลฝอยเดิมที่ไม่ถูกสุขลักษณะในพื้นที่ชุมชนทั่วประเทศ ตามลำดับความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้น |
3. แนวทางด้านกฎหมาย
1 | ปรับปรุง แก้ไข กฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับอัตราค่าธรรมเนียมการจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล และอัตราค่าธรรมเนียมการลด และใช้ประโยชน์จากมูลฝอย |
2 | กำหนดมาตรฐานควบคุมมลพิษจากสถานที่กำจัดมูลฝอย เช่น มาตรฐานน้ำทิ้ง มาตรฐานการระบายอากาศเสียจากปล่องเตาเผามูลฝอยและเมรุ |
3 | กำหนดให้สถานที่กำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลเป็นแหบล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการระบายของเสียให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด |
4 | กำหนดระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างกลไกการเรียกคืนซากผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เพื่อใช้ประโยชน์จากมูลฝอยและลดปริมารมูลฝอย |
5 | กำหนดระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยที่เกิดจากการก่อสร้างสถานีขนส่ง รถไฟ รถโดยสาร และเรือนแพ |
6 | กำหนดให้มีระบบติดตามตรวจสอบบันทึกภาวะมลพิษจากแหล่งกำเนิดมลพิษ โดยส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการตรวจสอบมากขึ้น และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในระบบการติดตามตรวจสอบ |
4. แนวทางด้านการสนับสนุน
1 | สนับสนุนให้มีการศึกษา วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อนำมาใช้แก้ไขปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการมูลฝอยและปฏิกูล |
2 | ให้มีการฝึกอบรม เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ด้านวิชาการและการบริหารจัดการ แก่เจ้าหน้าที่ของภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล |
3 |
สนับสนุนกิจกรรมเพื่อปลูกฝังทัศนคติ และสร้างค่านิยมให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไปในการรักษาความสะอสดของบ้านเมือง และการจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้อง |