“พะยูน” สังเวยทะเลตรังอีก 1 ตัว หลังเรือทัวร์พบซากพะยูนลอยตายกลางทะเลตรังท้องฉีกลำไส้ทะลัก ประสานเจ้าหน้าที่นำเรือค้นหาเจอคลื่นลมมรสุมแรงท่ามกลางฝนตกหนัก ยังไร้วี่แววซากคาดถูกคลื่นซัดไม่ทราบทิศทาง เผยเป็นพะยูนตัวที่ 11 ตายในทะเลตรัง ที่ส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล สบทช.10 อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง เจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งจากสมศักดิ์หรือแบงค์ พันธุเมต อายุ 30 ปี ประธานชมรมมัคคุเทศก์อาชีพจังหวัดตรัง ซึ่งได้พานักท่องเที่ยวออกเที่ยวทะเลตรังตามปกติ ได้ออกเรือจากระหว่าง เกาะยา จังหวัดตรัง ไปยังเกาะไหง
อ่านต่อจากกรณีนายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เป็นประธานการประชุมปรึกษาหารือร่วมกับเครือข่ายภาคธุรกิจเอกชน ทั้งห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อ รวม 43 ภาคี เพื่อร่วมกันหาแนวทางในการขับเคลื่อนการงดแจกถุงพลาสติกให้กับลูกค้า โดยที่ประชุมมีมติว่าในวันที่ 1 ม.ค.2563 จะมีการนำร่องงดแจกถุงพลาสติกในบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้ง 43 ภาคี ทั้งห้างสรรพสินค้า และร้านค้าสะดวกซื้อรายใหญ่ อาทิ ห้างเซ็นทรัลฯ เดอะมอลล์ บิ๊กซี เซเว่น อีเลฟเว่น โลตัส เป็นต้น เพื่อขอความร่วมมือในการลดปริมาณขยะพลาสติก
อ่านต่อนายวิชัย สมรูป ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 5 รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และชุมพร เปิดเผยถึงแนวทางการลดขยะที่ส่งผลกระทบการทรัพยากรทางทะเลว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกับภาคเอกชน รวมถึงร้านสะดวกซื้อบนเกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า ลดการใช้ถุงพลาสติก ห้ามนำถุงพลาสติกขึ้นเกาะ ซึ่งบนเกาะพะงันสามารถเลิกได้อย่างเด็ดขาด และเกาะที่เหลือจะทยอยดำเนินการให้ได้เช่นเดียวกัน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ยังได้ฟื้นฟูปะการังเพื่อให้เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์ทะเล
อ่านต่อศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเล 3 จังหวัดตรัง ได้เปิดเผยข้อมูลจากการเก็บตัวอย่างปลาทู บริเวณเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง ในการศึกษาไมโครพลาสติกในสัตว์ทะเล เพื่อนำมาวิเคราะห์การปนเปื้อนของขยะประเภทไมโครพลาสติกจากการกินอาหารของปลาทู โดยจากผลของการตรวจพิสูจน์ปลาทู ขนาดประมาณ 17 เซนติเมตร พบว่ามีไมโครพลาสติกในกระเพาะของประทู ประกอบไปด้วยลักษณะที่เป็นเส้นใย แท่งสีดำ และกลิตเตอร์ โดยขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการฯ อยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ถึงผลกระทบต่อมนุษย์หาก
อ่านต่อเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงานำอุปกรณ์การเก็บขยะ ตักขยะทะเลในเขตอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ตามนโยบายของ นายศรายุทธ ตันเถียร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา จังหวัดพังาในแต่ละพื้นที่รับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ โดยในแต่ละวันเจ้าหน้าที่สามารถตักขยะในทะเลได้เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นขยะจำพวกใบไม้ กิ่งไม้ ลูกมะพร้าว ทางอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ได้เริ่มดำเนินการกิจกรรมการบริหารจัดการขยะในพื้นที่อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา สรุปปริมาณขยะอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา (ข้อมูลถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2562)
อ่านต่อบริเวณทางขึ้นวัดผาตากเสื้อ และบริเวณต้นน้ำ น้ำตกธารทอง ตำบลผาตั้ง อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย และบริเวณรอบวัดผาตากเสื้อ สกายวอล์ค (Sky Walk) นายมงคล เพ็งสมภาร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลผาตั้ง นายอิสระ พัวตนะ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลผาตั้ง นายปฐมพร สมจิตต์ หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าหนองคาย นำเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลผาตั้ง,เจ้าหน้าที่ ตชด.245,เจ้าหน้าที่สถานีควบคุมไฟป่า,เจ้าหน้าที่สวนรุกขชาติน้ำตกธารทอง,เจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ นค.2 ,เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.สังคม
อ่านต่อดาว (DOW) ประกาศการจัดทำข้อตกลงให้ ฟือนิกซ์ อีโคจี กรุ๊ป (Fuenix Ecogy Group) ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเวียร์ต ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นผู้จัดส่งวัตถุดิบประเภทน้ำมันไพโรไลซิส (Pyrolysis Oil Feedstock) ที่ได้จากขยะพลาสติกรีไซเคิลให้กับโรงงานผลิตของดาวในเมืองแทร์นอยเซน ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์โพลิเมอร์ใหม่ หนุนการขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ข้อตกลงดังกล่าวถือเป็นอีกก้าวสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดการรีไซเคิลพลาสติกกลับเป็นวัตถุดิบใหม่ (Feedstock Recycling) มากขึ้น
อ่านต่อนายอาดีต ชายกุล ผู้อำนวยการส่วนป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า สำนักบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 12 สาขาจังหวัดกระบี่ ได้ชี้แจงเกี่ยวกับประชาชนและนักท่องเที่ยวร้องเรียนผู้สื่อข่าวว่า บนเส้นทางถนนเพชรเกษม บริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าในช่องฝั่งตะวันตก ถนนสาย 3 บ้านในช่อง ตำบลทับปริก อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นสถานที่โครงการป่าในช่องป่าโอโซนจังหวัดกระบี่ ป่าในเมืองสวนป่าประชารัฐเพื่อความสุขของประชาชน และถนนสายโรแมนติกโรส มีขยะจำนวนมากทำให้เสียทัศนียภาพ
อ่านต่อโรงเรียน Melbourne Girl’s College (MGC) ในประเทศออสเตรเลียเตรียมนำถังขยะออกจากห้องเรียนและโรงเรียน และประกาศให้นักเรียนนำขยะไปทิ้งที่บ้านแทน เพื่อกระตุ้นให้ไม่สร้างขยะ โดยหวังว่าทางพ่อแม่ครอบครัวจะตระหนักถึงเรื่องนี้และไม่สร้างขยะ ไม่ซื้อของที่มีหีบห่อ ภาชนะใช้ครั้งเดียวทิ้ง และห่อกล่องข้าว และให้เด็กพกภาชนะแบบใช้ซ้ำได้ให้ลูกๆเอาไปกินกลางวันแทน “ไอเดียนี้ก็คล้ายกับเวลาที่ไปเที่ยวอุทยานในประเทศออสเตรเลีย ขยะที่คุณนำเข้าไป คุณมีหน้าที่นำมันออกมาด้วย” Karen Money ครูผู้ริเริ่มโครงการนี้กล่าว
อ่านต่อนายลือชัย เจริญทรัพย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง กล่าวว่ารัฐบาลได้กำหนดโรดแมปจัดการขยะพลาสติก ปี 2561-2573 ตั้งเป้าหมาย ลด ละ เลิก ใช้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก มาใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแทน โดยในปี 2565 จะเลิกใช้พลาสติก 4 ชนิด คือ ถุงหูหิ้วที่หนาน้อยกว่า 36 ไมครอน , กล่องโฟมบรรจุอาหาร , หลอดพลาสติก และแก้วน้ำพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว ทั้งนี้จังหวัดตรังได้เร่งรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนหันมาตระหนักถึงปัญหาขยะพลาสติก
อ่านต่อสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ร่วมกับสถาบันพลาสติก เปิดตัวผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ เพื่อเป็นการรณรงค์และสร้างความตระหนักในการลดการใช้พลาสติกที่ย่อยสลายยาก มาเป็นพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายขึ้น โดยมี นางวรวรรณ ชิตอรุณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วยนายเกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติก ณ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ถนนพระราม 6 ทั้งนี้จากการส่งเสริมของภาครัฐ ที่ต้องการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0
อ่านต่อว่ากันว่าพลังผู้บริโภคนั้นสำคัญมาก สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ ดูอย่างซูเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ในอังกฤษนั่นประไร ทนแรงกดดันจากผู้บริโภครักสิ่งแวดล้อมไม่ไหว เริ่มเลิกใช้พลาสติกห่อสินค้า ท่ามกลางกระแสความกังวลเรื่องขยะพลาสติกล้นทะเล ซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งในประเทศนิวซีแลนด์และแอฟริกาใต้ เริ่มรณรงค์จัดเขต “นู้ดโซน” และ “อาหารเปลือยเปล่า″ ที่ผักและผลไม้สดวางไว้อย่างเรียบง่าย ตอนนี้ร้านค้าปลีกในอังกฤษ ที่แม้แต่กล้วยหนึ่งหวีก็มักห่อพลาสติกเพื่อรักษาความสด ป้องกันความเสียหายระหว่างการขนส่งทางไกล
อ่านต่อประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงแผนการผลักดันเศรษฐหมุนเวียน (เซอร์คูล่า อีโคโนมี) ว่าต้องการให้รัฐบาลออกมาตรการดูแลการจัดการขยะของไทยให้มีศักยภาพ โดยเฉพาะปัญหาการทิ้งขยะในทะเลตามแหล่งท่องเที่ยวของไทย โดยให้นำมาตรการที่เคยใช้เช่น มาตรการตาวิเศษ ที่สามารถกระตุ้นคนไทยเห็นความสำคัญของการรักษาสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณขยะได้มาก ซึ่งต้องใช้เป็นมาตการเข้มข้น ดูแลผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เช่น เจ้าของเรือ โรงแรม รีสอร์ท ผู้ประกอบการเรือ เพราะกลุ่มนี้รู้กฎระเบียบดี และผู้ทิ้งขยะควรได้รับการลง
อ่านต่อสนามบินนานาชาติซานฟรานซิสโก ในรัฐแคลิฟอร์เนียของประเทศสหรัฐอเมริกา นำร่องประกาศมาตรการยุติการจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกในร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร รวมถึงในเครื่องจำหน่ายสินค้าแบบหยอดเหรียญ โดยระยะแรกจะยุติการจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกที่มีขนาดน้อยกว่า 1 ลิตรก่อน ซึ่งมาตรการนี้เป็นมาตรการขั้นต้นของการบรรลุเป้าหมายเป็นสนามบินแรกของโลกที่ปลอดพลาสติกโดยสมบูรณ์ในปี 2021 โดยหลังจากที่ไม่มีน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกจำหน่ายแล้ว สนามบินมีแนวทางให้ผู้โดยสารที่เข้ามาใช้บริการเติมน้ำในบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำ
อ่านต่อทางการประเทศเนปาลแถลงว่า ห้ามใช้พลาสติกทุกชนิดที่หนาน้อยกว่า 30 ไมครอน รวมทั้งขวดน้ำพลาสติกในเขตเทศบาลคุมบู ปาซัง ลามู ที่ตั้งของภูเขาเอเวอเรสต์และภูเขาอีกหลายลูก มีผลตั้งแต่เดือน ม.ค.2563 เป็นต้นไป เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมของเอเวอเรสต์และภูเขาแถบนี้ในระยะยาว แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวรวมทั้งนักไต่เขาและเดินป่าเข้ามายังพื้นที่แถบเอเวอเรสต์กว่า 50,000 คน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะประสานงานกับบริษัทจัดไต่เขา สายการบิน และสมาคมนักไต่เขาเนปาล ห้ามใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง โดยเบื้องต้นยังไม่มีการกำหนดโทษ
อ่านต่อเมืองกัวยากิล เป็นเมืองท่าริมฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ มีประชากร 2.7 ล้านคน ผลิตขยะวันละ 4,200 ตัน ในจำนวนนี้สามารถรีไซเคิลได้เพียงร้อยละ 14 เท่านั้น ผู้โดยสารที่ใช้บริการเมโทรเวีย ระบบรถโดยสารขนส่งมวลชนในเมืองนี้พากันเข้าแถวหน้าเครื่องที่เพิ่งติดตั้งใหม่ รอแลกขวดพลาสติกรีไซเคิลได้ในราคาขวดละ 2 เซนต์ (ราว 0.60 บาท) ผู้โดยสารคนหนึ่งเผยว่าได้ราคาดีกว่าขายให้แก่ร้านรับซื้อขวดรีไซเคิลเสียอีก เพราะใช้เพียง 15 ขวด ก็สามารถแลกเป็นเงินสำหรับจ่ายค่าตั๋วโดยสารราคา 30 เซนต์ (ราว 9 บาท) ได้แล้ว อย่างไรก็ดีระบบ
อ่านต่อรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) เผยแพร่เมื่อ 21 ส.ค.ระบุถึงการพบปริมาณไมโครพลาสติก หรือพลาสติกขนาดเล็กในน้ำดื่ม ซึ่งขนาดชิ้นส่วนเล็กกว่า 5 มม. ที่พบตามก๊อกน้ำ น้ำดื่มบรรจุขวดและตามแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไปทั้งแม่น้ำ และตามทะเลสาบ ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากกระบวนการบำบัดดูแล และระบบจ่ายน้ำ ไม่ส่งผลอันตรายต่อร่างกายมนุษย์มากนัก อย่างไรก็ตาม ด็อกเตอร์ บรูซ กอร์ดอน ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การ อนามัยโลก ยอมรับว่าข้อมูลที่มีอยู่ยังน้อยและจำเป็นต้องวิจัยค้นคว้าผลกระทบเรื่องนี้เพิ่มเติม พร้อมเรียกร้องชาวโลกพยายาม
อ่านต่อข่าวเศร้าสะเทือนใจ ที่สร้างความหดหู่ให้ผู้คนในโลกโซเซียลได้เสพกันตั้งแต่ หลังเที่ยงคืนที่ผ่านมา (17 ส.ค.) คือการตายของ “ มาเรียม “ ลูกพะยูนน้อยหลงฝูงเพศเมียวัย 9 เดือน ที่อยู่ในความดูแลของทีมสัตวแพทย์ และกลุ่มอาสาพิทักษ์ดูหยง แห่งเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จากการผ่าซากพิสูจน์สาเหตุการตายของมาเรียม สรุปออกมาว่า ช็อค หัวใจวาย และพบว่ามีเศษพลาสติกเล็กๆหลายชิ้นขวางลำใส้ คาดว่าปนในหญ้าทะเล จนมีอาการอุดตันและอักเสบ จนนำไปสู่การคร่าชีวิตพะยูนน้อยดังกล่าว ภาพขยะทะเล ที่เกลื่อนชายหาดแห่งหนึ่งบนเกาะ
อ่านต่อทีมนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันอัลเฟรด เวเกเนอร์ (AWI) ของประเทศเยอรมนี ได้เปิดเผยรายงานที่น่าตกใจ จากการที่ทีมนักวิทย์ได้พบอนุภาคของไมโครพลาสติกจากกลุ่มตัวอย่างของน้ำแข็งที่เก็บมาจากหลายที่ ทั้งแต่น้ำแข็งอาร์กติก จนถึงน้ำแข็งในเทือกเขาแอลป์ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ รายงานระบุว่า ตัวอย่างน้ำแข็งจากเขตอาร์กติก, เกาะ Helgoland ในทะเลเหนือ, เทือกเขาในรัฐบาวาเรีย, หิมะจากเบรเมน และน้ำแข็งจากเทือกเขาแอลป์ ล้วนพบการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกทั้งสิ้น ไมโครพลาสติกที่พบนี้อยู่ในระดับความเข็มข้นสูง
อ่านต่อผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง นายกเหล่ากาชาดจังหวัดตรัง และผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่ 10 เดินทางไปดูซากพะยูนน้อยมาเรียม ที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง โดยได้นำซากพะยูนน้อยมาเรียมแช่ฟรีซแข็งไว้เพื่อรักษาสภาพไว้เช่นนั้นก่อน เพื่อรอการตัดสินใจของผู้บริการระดับสูงทั้งทางกรมอุทยานฯ และกรม ทช. ว่าจะนำซากน้องมาเรียมไปสตาฟ์เพื่อการศึกษาในการอนุรักษ์ และเป็นการรณรงค์ลดการใช้พลาสติกเพื่อลดความเสี่ยงต่อทรัพยากรทางทะเลและลดโลกร้อน
อ่านต่อ